คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาการประมง และทรัพยากรทางน้ำแห่งแรกของประเทศไทย เน้นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้ง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลัก ศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ บริหารศาสตร์ พัฒนศาสตร์ นิติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ปัจจุบัน เปิดสอนในสาขา การจัดการประมง ชีววิทยาประมง ผลิตภัณฑ์ประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และวิทยาศาสตร์การประมง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญาเอก คณะประมงผ่านการประเมินด้วยคะแนนสูงสุด(5/5)ระดับดีมาก โดยสกว. 2553
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
มุ่งเน้นด้านการบริหารจัดการ การวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้ง เศรษฐศาสตร์ สังคมและนิติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม(Remote Sensing), การจัดการความขัดแย้ง, การจัดการแหล่งน้ำ
ประกอบด้วยหมวดวิชา 1.การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ(Aquatic Resources and Environment) 2.นโยบายและการบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำ(Fisheries Policy and Administration) 3. เศรษฐศาสตร์การประมง(Fishery Economics) 4. ธุรกิจการประมง(Fishery Businiss) 5. การประมงชุมชน(Fishery Society) 6.สารสนเทศเพื่อการจัดการประมง(Fisheries Information Technology)
มุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์ บทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ เช่น การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA), ไวรัสวิทยา, มีนวิทยา
ประกอบด้วยหมวดวิชา 1.ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ (Aquatic biodiversity) 2.นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Aquatic Ecology and Environments) 3.สรีรวิทยาสัตว์น้ำ และพิษวิทยา (Aquatic Animal Physiology and Toxicology) 4. สุขภาพสัตว์น้ำ (Aquatic Animal Health) 5.ชีวประวัติสัตว์น้ำ และพลศาสตร์การประมง (Life History of Aquatic Animal and Fishery Dynamics)
มุ่งเน้นด้านการปรับปรุงพันธุกรรม และการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น ระบบการเพาะเลี้ยงแบบหนาแน่น , วิทยาภูมิคุ้มกัน, การวิเคราะห์คุณภาพน้ำและอาหารสัตว์น้ำ
ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่มีจัดการสอนและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การอาหารในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมการแปรรูป มาตรฐานและการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริหารโรงงานอุตสาหกรรม เช่น วิศวกรรมการแช่เยือกแข็ง, โลจิสติกส์, การวิเคราะห์และออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล
ประกอบด้วยหมวดวิชา 1.เคมีและชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ (Seafood Chemistry and Biochemistry) 2.จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพทางผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products Biotechnology) 3.เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (Post-harvest Technology)
มุ่งเน้นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีการจับสัตว์น้ำในทะเล เช่น ธรณีวิทยาและปิโตรเลียม, การเดินเรือ, แพลงก์ตอนวิทยา(Planktology)
ประกอบด้วยหมวดวิชา 1.นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ecology and Biodiversity) 2.สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (Environment and Oceanography) 3.เทคโนโลยีประมงทะเล (Marine Fisheries and Maritime) 4.เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล (Marine Biotechnology)
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการเปิดรับนิสิต ณ วิทยาเขตกำแพงแสน ในปีการศึกษา 2554 เป็นรุ่นแรก จำนวน 50 คน ดำเนินการโดยสถานีวิจัยประมงกำแพงแสน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาตามประกาศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาเขตกำแพงแสนคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สถานีวิจัย ทำการวิจัย บริการวิชาการ และฝึกงานสำหรับนิสิตของคณะและนักศึกษาของจากสถาบันอื่น
พวกเราคณะประมง คณะประมง คณะประมง ทุกคนจำนงค์ เจาะจงศึกษาตั้งใจ เพิ่มพูนสัตว์น้ำมีปลา ปูหอยนานาอาหารเมืองไทย วิธีการใด หมายใจมุ่งส่งเสริมพลัน ตรวจตราวารี มีปลามีปู คุ้มครองจ้องรู้คอยดูแลมัน หมายมุ่งสงวนชีวัน ศึกษาเลือกสรรค์ พูนพันธ์ทวี พวกเราคณะประมง เรานี้ดำรงคงสามัคคี วิชาเรามี พร้อมพลี เพื่อชาติสมบูรณ์
บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะประมงกว่า2000คน (2535) สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานราชการ โครงการในพระราชดำริ สถาบันการศึกษา-วิจัย และอุตสาหกรรมต่างๆ และศึกษาต่อ ทั้งด้านประมง และด้านอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหาร การสาธารณสุขแพทย์ เภสัชกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร โลจิสติกส์ ฯลฯ
คณะประมงเป็นเนื้อหาในสารคดี และฟิกชั่นในนิยาย ภาพยนตร์ เช่น บุญชู , Final Score 365วันตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ , ดอกบัวขาว
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/คณะประมง_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์